โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นการดำเนินการที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชน
เพื่อมาสู่การจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชนอย่างยั่งยืน และการสร้างความรู้ความเข้าใจตามกรอบหลักการดำเนินการ 10 เรื่องอย่างมีแบบแผน สู่การสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อให้เกิดโอกาสในการพัฒนาตนเอง
แผนการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน มีแผนการลงพื้นที่จำนวน 4 ครั้ง ในครั้งที่ 3 เป็นเรื่องของการนำปัญหาของแต่ละชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข จัดทำเป็นแผนงาน/โครงการตามหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนด เน้นหลักการมีส่วนร่วม และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งก่อให้โครงการที่เกิดผลิตภาพ (Productivity) สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก หรือเชื่อมโยงการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ถัดมาที่แผนการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ครั้งที่ 4 มีเนื้อหาเพิ่มเติมที่จะสร้างการรับรู้แก่ประชาชนจากกรอบหลัก 10 เรื่อง ได้แก่ ข้อมูลมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพดีที่จะส่งผลให้ราคาข้าวมีมูลค่าสูงขึ้น และมาตรการช่วยเหลือชาวนาอื่นๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต ไปประชาสัมพันธ์ให้แก่เกษตรในพื้นที่ทราบ และเน้นย้ำสร้างการรับรู้ในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อประชาชน
ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนในครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 จะทำให้การสร้างรายได้นั้นเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามลำดับ
|
พิธีบำเพ็ญกุศลและกิจกรรมน้อมรำลึก
พิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรนายสิบอาวุโสฯวันที่ 4 ต.ค. พ.ศ.2561 พ.อ.วิชัย ธารีฉัตร รอง จก.กส.ทบ.(1)
|